อารยธรรมจากอินเดีย
มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตและการวางรากฐานทางวัฒนธรรมแก่คนในดินแดนไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งกลุ่มบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่อารยธรรมอินเดียมีหลายกลุ่มด้วยกัน เช่น พวกพราหมณ์ พระภิกษุในพระพุทธศาสนา พวกพ่อค้า นักปกครอง และนักแสวงโชค เป็นต้น
มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตและการวางรากฐานทางวัฒนธรรมแก่คนในดินแดนไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งกลุ่มบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่อารยธรรมอินเดียมีหลายกลุ่มด้วยกัน เช่น พวกพราหมณ์ พระภิกษุในพระพุทธศาสนา พวกพ่อค้า นักปกครอง และนักแสวงโชค เป็นต้น
อารยธรรมอินเดียที่แพร่หลายเข้าสู่ประเทศไทยมีหลายด้าน พอสรุปได้ดังนี้
1) ด้านศาสนา ศาสนาที่นำอารยธรรมอินเดียเข้ามามีอิทธิพลต่อสังคมไทยอย่างกว้างขวาง ได้แก่ ศาสนาพราหมณ์ และพระพุทธศาสนา และ ผู้คนพื้นเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับเอาศาสนาพราหมณ์ – ฮินดูและพระพุทธศาสนาที่มีผลต่อการสร้างงานศิลปะที่มีหลักฐานปรากฏอยู่มากมาย เช่น ปราสาทนครวัดนครธมในกัมพูชา เจดีย์ชเวดากองในเมียนมาร์บุโรพุทโธในอินโดนีเชีย สำหรับในดินแดนไทยได้รับศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู และพระพุทธศาสนามาตั้งแต่สมัยโบราณ เช่น ทวารดี ในสมัยสุโขทัยรับพระพุทธศาสนาจากนครศรีธรรมราชทำให้พระพุทธศาสนาเป็นส่วนสำคัญในวิถีชีวิตของคนไทย
2) ด้านการปกครอง พระมหากษัตริย์ไทยในอดีตได้ยึดมั่นในหลักธรรมทางศาสนาและนำหลักธรรมมาอบรมสั่งสอน โน้มน้าวให้ประชาชนประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมอันดี และนำหลักธรรมมาใช้ในการปกครองประเทศ เพื่อให้เหล่าพสกนิกรอยู่เย็นเป็นสุข
3) ด้านภาษา ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับอิทธิพลทางด้านภาษาจากอินเดีย โดยการรับภาษาบาลี สันสฤตจากอินเดียมาใช้ ทำให้ประเทศต่าง ๆ ทั้งไทย กัมพูชา อินโดนีเซีย มีภาษาที่มีคำในภาษาบาลี สันสฤต ผสมอยู่มากมาย เช่น ชื่อของคนในประเทศเหล่านี้ รับวรรณคดีอินเดีย เช่น มหากาพย์รามายณะ ซึ่งมีอิทธิพลต่อวรรณคดีของไทย เมียนมาร์ กัมพูชา อินโดนีเซีย รวมถึงวรรณคดีทางพระพุทธศาสนา เช่น ชาดก
4) ด้านกฎหมาย แนวความคิดพื้นฐานเดิม อินเดียมุ่งใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการปกครองเพื่อปราบปรามและลงโทษผู้กระทำความผิด ซึ่งสังคมไทยก็มีลักษณะเช่นเดียวกันมาแต่โบราณ เพิ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงไปใช้แนวคิดของกฎหมายและการศาลแบบตะวันตกในสมัยยุครัตนโกสินทร์
5) ด้านศิลปกรรม งานศิลปะในภูมิภาคนี้ ได้รับอิทธิพลจากอินเดียสูงมากที่สุด ได้แก่ การสร้างเทวรูปและพระพุทธรูป
3) ด้านภาษา ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับอิทธิพลทางด้านภาษาจากอินเดีย โดยการรับภาษาบาลี สันสฤตจากอินเดียมาใช้ ทำให้ประเทศต่าง ๆ ทั้งไทย กัมพูชา อินโดนีเซีย มีภาษาที่มีคำในภาษาบาลี สันสฤต ผสมอยู่มากมาย เช่น ชื่อของคนในประเทศเหล่านี้ รับวรรณคดีอินเดีย เช่น มหากาพย์รามายณะ ซึ่งมีอิทธิพลต่อวรรณคดีของไทย เมียนมาร์ กัมพูชา อินโดนีเซีย รวมถึงวรรณคดีทางพระพุทธศาสนา เช่น ชาดก
4) ด้านกฎหมาย แนวความคิดพื้นฐานเดิม อินเดียมุ่งใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการปกครองเพื่อปราบปรามและลงโทษผู้กระทำความผิด ซึ่งสังคมไทยก็มีลักษณะเช่นเดียวกันมาแต่โบราณ เพิ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงไปใช้แนวคิดของกฎหมายและการศาลแบบตะวันตกในสมัยยุครัตนโกสินทร์
5) ด้านศิลปกรรม งานศิลปะในภูมิภาคนี้ ได้รับอิทธิพลจากอินเดียสูงมากที่สุด ได้แก่ การสร้างเทวรูปและพระพุทธรูป
คนไทยและคนที่อยู่ในภูมิเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บางส่วนได้รับวัฒนธรรมการแต่งกายและวัฒนธรรมการกินอาหารจากอารยธรรมอินเดีย เช่น รับประทานอาหารที่มีเครื่องเทศเป็นส่วนผสม ใส่เสื้อผ้าแบบชาวอินเดีย เป็นต้น
Comments
Post a Comment