อารยธรรมจากอินเดีย มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตและการวางรากฐานทางวัฒนธรรมแก่คนในดินแดนไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งกลุ่มบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่อารยธรรมอินเดียมีหลายกลุ่มด้วยกัน เช่น พวกพราหมณ์ พระภิกษุในพระพุทธศาสนา พวกพ่อค้า นักปกครอง และนักแสวงโชค เป็นต้น อารยธรรมอินเดียที่แพร่หลายเข้าสู่ประเทศไทยมีหลายด้าน พอสรุปได้ดังนี้ 1) ด้านศาสนา ศาสนาที่นำอารยธรรมอินเดียเข้ามามีอิทธิพลต่อสังคมไทยอย่างกว้างขวาง ได้แก่ ศาสนาพราหมณ์ และพระพุทธศาสนา และ ผู้คนพื้นเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับเอาศาสนาพราหมณ์ – ฮินดูและพระพุทธศาสนาที่มีผลต่อการสร้างงานศิลปะที่มีหลักฐานปรากฏอยู่มากมาย เช่น ปราสาทนครวัดนครธมในกัมพูชา เจดีย์ชเวดากองในเมียนมาร์บุโรพุทโธในอินโดนีเชีย สำหรับในดินแดนไทยได้รับศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู และพระพุทธศาสนามาตั้งแต่สมัยโบราณ เช่น ทวารดี ในสมัยสุโขทัยรับพระพุทธศาสนาจากนครศรีธรรมราชทำให้พระพุทธศาสนาเป็นส่วนสำคัญในวิถีชีวิตของคนไทย 2) ด้านการปกครอง พระมหากษัตริย์ไทยในอดีตได้ยึดมั่นในหลักธรรมทางศาสนาและนำหลักธ
Posts
- Get link
- X
- Other Apps
1.สโคกลันด์ ประเทศ เนเทอร์แลนด์ ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา สโคกลันด์ ( ดัตช์ : Schokland ) เป็นคาบสมุทรที่กลายเป็นเกาะในคริสต์ศตวรรษที่ 15 (พุทธศตวรรษที่ 20) สถานที่นี้เคยมีมนุษย์ไปตั้งถิ่นฐาน แต่ต่อมาก็ถูกทิ้งร้างไปเพราะน้ำทะเลท่วมขึ้นมา จึงต้องอพยพผู้คนออกในปี ค.ศ. 1859 (พ.ศ. 2402) แต่หลังจากระบายน้ำออกจากบริเวณ เซยเดอร์เซ (Zuider Zee) ตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1940 (ช่วง พ.ศ. 2483) พื้นที่นี้ก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินซึ่งถมทะเลขึ้นมา สโคกลันด์มีร่องรอยของชุมชนมนุษย์ที่เก่าแก่ถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้อย่างกล้าหาญและยาวนานของชาวดัตช์ที่จะเอาชนะน้ำซึ่งล้อมรอบเข้ามา 2.เบกีนาฌ ประเทศฝรั่งเศษ เบกีนาฌซึ่งพบได้ใน เขตฟลามส์ (ฟลานเดอส์) ทั้ง 13 แห่งใน ประเทศเบลเยียม ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น มรดกโลกทางวัฒนธรรม โดย องค์การยูเนสโก เมื่อปี ค.ศ. 1998 เบกีนาฌ ( ฝรั่งเศส : béguinage ) หรือ เบอไคน์โฮฟ ( ดัตช์ : begijnhof ) เป็นบริเวณที่อยู่อาศัยร่วมกันขนาดเล็ก ๆ ของเหล่า ฆราวาส หญิงที่เรียกว่า "เบกีน" ( Béguine ) ซึ